fbpx
skip to Main Content

ไมโครโฟนมีกี่แบบและเหมาะกับการทำงานประเภทไหนบ้าง (ภาษามือใหม่ เข้าใจง่าย ไม่ปวดหัว)

ไมโครโฟนมีกี่แบบและเหมาะกับการทำงานประเภทไหนบ้าง (ภาษามือใหม่ เข้าใจง่าย ไม่ปวดหัว) เมื่อต้องทำงานเกี่ยวกับเสียงการเลือกใช้ไมโครโฟนให้เหมาะกับงาน จะช่วยให้เสียงเราดีขึ้น เก็บรายละเอียกเสียงในแบบที่ต้องการ แต่ก่อนที่จะถึงการเลือกว่าจะใช้แบบไหน เรามาเรียนรู้กับก่อนครับว่า ไมโครโฟนมีกี่ประเภท และการรับเสียงเป็นอย่างไรบ้าง 

ไมโครโฟนมีกี่ประเภท และมีอะไรบ้าง?

ชนิดของไมโครโหนที่มักจะถูกนำมาใช้งาน มีอยู่ 2 ประเภทหลักโดยจำแนกตามกลไกการทำงานที่มีอยู่ในตลาดของไมโครโฟนในตอนนี้คือ ไมโครโฟนชนิดไดนามิค (Dynamic Microphones) และไมโครโฟนชนิดคอนเดนเซอร์ (Condenser Microphones) โดยแต่ละประเภทจะมีกลไกการทำงานที่แตกต่างกัน ซึ่งก็จะมีลักษณะความเหมาะสมในการใช้งานแตกต่างกันไป 

ไมโครโฟนชนิดไดนามิค (Dynamic Microphones)

คำว่า ไดนามิก คือกระบวนการหรือกลไกการเคลื่อนไหวเพื่อเปลี่ยนเป็นพลังงาน ซึ่งกลไกการทำงานของไมค์ชนิดนี้จะเป็นการทำงานเชิงกลเกี่ยวกับการเคลื่อนที่ของเสียงที่กระทบกับตัวรับสัญญาณไมค์ เกิดการสั่นสะเทือนสร้างการเคลื่อนไหวของขดลวดผ่านสนามแม่เหล็ก จึงเกิดสัญญาณไฟฟ้าของคลื่นเสียงนั่นเองครับ 

ลักษณะการใช้งาน 

โดยกลไกการทำงานแล้ว ไมค์ชนิดนี้สามารถรับแรงกระแทกของเสียงได้ดี และสามารถใช้งานได้แบบอเนกประสงค์ในการรับเสียงในสตูดิโอทุกรูปแบบทั้งในและนอกสถานที่ เก็บได้ทั้งเสียงพูด เสียงร้องเพลง เสียงเครื่องดนตรีที่มีการกระแทกของเสียงหนัก ๆ เช่น การร้องเพลงแบบอาร์ดคอร์ เสียงกลองหรือรับเสียงบันทึกผ่านเครื่องขยายเสียง และไมค์มีความทนทานสูง จึงรองรับเสียงที่มีความดังในระดับที่สูงได้ ทั้งการสวิงของเสียงที่อาจจะเกิดขึ้นระหว่างการบันทึกเสียง หรือการเล่นคอนเสิร์ต 

ไมค์ชนิดนี้รับเสียงด้วยการกระทบของเสียง จึงมีข้อจำกัดในการรับเสียงที่มีแรงกระทบต่ำ เวลาใช้งานจึงต้องให้ไมค์อยู่ใกล้กับปาก หรือจ่อเข้าที่เครื่องดนตรี แต่ก็มีข้อดีคือลดเสียงรบกวนได้ดีเพราะไมค์ชนิดนี้มีความไวต่อการรับเสียงค่อนข้างต่ำ 

ไมโครโฟนชนิดคอนเดนเซอร์ (Condenser Microphones)

ไมโครโฟนชนิดคอนเดนเซอร์ เป็นไมโครโฟนที่มีความไวในการรับเสียงสูง ทั้งเสียงต่ำ เสียงกลาง เสียงสูง เพราะกลไกการทำงานของไมค์ชนิดนี้ เกิดจากการวางแผ่นโลหะบางที่ไวต่อการกระทบ โดยแผ่นโลหะจะต้องมีกระแสไฟฟ้าเลี้ยงไว้เสมอเมื่อมีแรงมากระทบ (อาจจะเป็นเสียงที่เกิดจากการพูด การเคาะ การหายใจ หรือแม้แต่การขยับเบา ๆ ) จะเกิดการสั่นสะเทือนขึ้นตัวแผ่นโลหะจะสร้างคลื่นสัญญาณเสียงทันที 

ลักษณะการใช้งาน 

คุณสมบัติในการรับเสียงที่รับเสียงด้วยความถี่ได้กว้างครอบคลุมทุกย่านเสียง ถึงแม้จะเป็นเสียงที่หูของมนุษย์แทบจะไม่ได้ยินก็ตาม จึงเหมาะสำหรับการทำงานด้านเสียงในสตูดิโอ ที่มีการเก็บเสียงพูดเสียงร้องเพลง เสียงแบบ ASMR ที่สามารถควบคุมปัจจัยด้านเสียงและปัองกันเสียงรบกวนได้ หรือจะใช้งานเพื่อเก็บเสียงได้ทุกเสียง ทั้งเสียงภายนอกเสียงลม เสียงการเล่นดนตรี เปียโน กีตาร์ เสียงบรรยากาศในงานวิดีโอหรือภาพยนตร์ ก็สามารถใช้งานไมค์ชนิดนี้ได้เช่นกัน 

ด้วยความไวในการเกิดเสียงนี่เองไมค์ชนิดนี้จะมีโอกาสเกิดเสียง “ป๊อป” หรือเสียงกระแทก ดังนั้นจึงต้องมีอุปกรณ์ที่ลดการกระแทกของเสียงอย่าง “pop shield” วางไว้ด้านหน้าเมื่อพูดอยู่หน้าไมค์ด้วยและสามารถวางไมค์ให้ห่างจากตัวผู้พูดได้ระยะหนึ่ง ก็สามารถเก็บเสียงผู้พูดได้อย่างชัดเจนเหมือนเดิม แต่ก็อาจจะมีเสียงรบกวนเข้ามาในระหว่างการบันทึกเสียงได้ด้วยซึ่งในปัจจุบันมีผู้ผลิตหลายรายที่สามารถลดเสียงรบกวนเมื่อใช้งานไมค์ชนิดคอนเดนเซอร์ได้ดีแล้วด้วยเช่นกัน

สนใจเลือกซื้อไมโครโฟนหรือต้องการคำปรึกษาเรื่องการใช้งานติดต่อขอข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ COB หรือ Lnwgadget ได้เลยครับ

×Close search
Search