fbpx
skip to Main Content

7 เทคนิคถ่ายภาพ Portrait ในที่แสงน้อย มือใหม่ทำตามได้ง่าย ๆ

ปัญหาส่วนใหญ่ที่มักเจอเมื่อต้องถ่ายภาพในที่แสงน้อย ไม่ว่าจะเป็นปัญหาภาพเบลอ ภาพมืด หรือถ่ายภาพแล้วกล้องโฟกัสไม่ได้ แม้จะเคลื่อนไหวเพียงเล็กน้อย หรือการปรับ ISO มากเกินไปก็เกิด Noise ในภาพขึ้นมาอีก ซึ่งปัญหาถ่ายภาพในที่แสงน้อยมักจะเป็นปัญหาของมือใหม่ สร้างความหนักใจอยู่ไม่น้อยเลย ในวันนี้เราก็มีเทคนิคดี ๆ ที่จะช่วยให้การถ่ายภาพ Portrait ในที่แสงน้อยได้ดีง่าย ๆ ได้ดียิ่งขึ้น มือใหม่สามารถทำตามกันได้ครับ

1.เปิดรูรับแสงให้กว้าง

เมื่อถ่ายในที่แสงน้อย เราจำเป็นจะต้องเปิดรูรับแสงให้กว้าง เพื่อให้แสงเข้ามาในกล้องเยอะขึ้น โดยการตั้งค่ารูรับแสงสำหรับการถ่ายภาพในที่แสงน้อย แนะนำใช้ค่ารูรับแสงกว้าง f/2.8 หรือ f/4 ปรับให้เหมาะสมตามสภาพแสง โดยควรระวังไม่ให้ค่ารูรับแสงมากจนเกินไป เพราะแสงจะเข้ามาในกล้องเยอะ อาจจะทำให้ภาพเบลอได้

2.ปรับความเร็วชัตเตอร์ให้ต่ำ

การปรับความเร็วชัตเตอร์ให้น้อยลง ส่งผลให้ปริมาณแสงเข้าสู่กล้องมากขึ้น การใช้ความเร็วชัตเตอร์ต่ำ ต้องสามารถถือถ่ายได้ เพราะข้อจำกัดของการปรับความเร็วชัตเตอร์ต่ำ โดยที่ถือกล้องด้วย ทำให้เกิดภาพสั่นเบลอได้ ดังนั้นควรปรับตั้งค่าให้พอดี เหมาะสมกับสภาพแสง ไม่ควรปรับความเร็วชัตเตอร์ต่ำกว่าระยะของเลนส์

3.ปรับ ISO ให้สูงขึ้น

ปรับ ISO หรือค่าที่ควบคุมความไวของกล้องต่อแสงให้สูงขึ้น ก็จะไวต่อแสงมากขึ้น แต่ไม่ควรให้สูงเกินไป เพราะอาจจะทำให้เกิด Noise ตามมาได้ ดังนั้นควรปรับค่า ISO ให้เหมาะสมกับสภาพแสง สำหรับการถ่ายภาพในที่แสงน้อย แนะนำใช้ค่า ISO 1600 แล้วค่อย ๆ ปรับเพิ่มตามสภาพแสงโดยรอบ

4.เลือกสถานที่ที่มีแสงเพียงพอ

แม้ว่าเราจะถ่ายภาพในที่แสงน้อย ซึ่งก็ไม่สามารถฝืนธรรมชาติได้ แต่ก็จำเป็นจะต้องมีแสงเข้ามาบ้าง ดังนั้นถ่ายในสถานที่ที่มีแสงน้อยได้ แต่ก็เลือกสถานที่มีแสงบ้าง อาจจะเลือกจุดที่สร้างความน่าสนใจ เพื่อทำให้รู้สึกว่าภาพน่าสนใจ มีจุดโดดเด่นให้ชม ไม่น่าเบื่อ

5.ใช้ Foreground ช่วยให้ภาพมีมิติและน่าสนใจมากยิ่งขึ้น

เพิ่มมิติและน่าสนใจมากยิ่งขึ้นให้กับตัวแบบ โดยใช้เทคนิค Foreground หรือว่าฉากหน้า ซึ่งสามารถใช้วัตถุต่าง ๆ เช่น ใช้กิ่งไม้ ใบไม้ แก้วน้ำ เป็นต้น ให้อยู่บริเวณด้านหน้ากล้อง โดยให้จุดโฟกัสอยู่ที่ตัวบุคคล ซึ่งการถ่ายแบบนี้วัตถุที่ทำหน้าที่จะถูกเบลอ โดยจะเห็นบางส่วนของภาพที่เป็นจุดเบลอบริเวณด้านหน้าของตัวแบบ ทำให้ภาพดูมีมิติสวยงาม

6.ปรับตั้งค่ากล้องโหมด M

การถ่ายในที่แสงน้อย แน่นอนว่าถ้าจุดที่เราถ่ายภาพมืด ภาพที่ได้ก็จะมืดตาม ถ้าเราเปิดโหมด Auto กล้องก็จะปรับตั้งค่าต่าง ๆ โดยอัตโนมัติ เช่น ปรับ ISO สูงขึ้น ซึ่งจะทำให้ภาพเกิด Noise หรือจุดรบกวนได้ หรือเปิดความเร็วชัตเตอร์นาน ๆ ภาพก็ก็จะสั่นไหว ช่างภาพมักจะใช้งานโหมด M หรือโหมด Manual เนื่องจากสามารถปรับตั้งค่าได้อย่างอิสระและเหมาะสมที่สุดตามที่ต้องการ

แนะนำให้ปรับความเร็วชัตเตอร์ Shutter Speed ให้น้อยลงในระดับที่เราถือได้ โดยที่กล้องไม่สั่น และดัน ISO ขึ้นให้เพียงพอต่อการถ่ายภาพในเวลากลางคืน ทั้งนี้การจะถ่ายภาพให้สวยขึ้นได้โดยใช้โหมด M นั้น อาจจะต้องฝึกฝนจนชำนาญถึงจะถ่ายภาพในที่แสงน้อยได้ดียิ่งขึ้น

7.ใช้แฟลชแยกช่วยเพิ่มแสง

ช่างภาพนิยมใช้แฟลชแยกกันมากขึ้น เนื่องจากสามารถนำมาใช้เติมแสงเวลาที่แสงไม่เพียงพอ ซึ่งแฟลชแยกสามารถใช้งานได้ในทุกสถานการณ์ ไม่ว่าจะเป็น งานถ่ายรับปริญญา ถ่ายภาพ Portrait และงานอีเวนต์ต่าง ๆ ควรมีแฟลชแยกพกติดตัวไปถ่ายภาพช่วยเพิ่มแสง ช่วยให้หมดห่วงเรื่องแสงไม่พอที่ตัวแบบ และลดความกังวลสภาพแสงที่น้อยได้อย่างสบาย ๆ ทั้งยังไม่ต้องทำให้ต้องลด Speed Shutter และไม่ต้องเพิ่ม ISO เยอะด้วย

สนใจเป็นเจ้าของไฟแฟลชหรือต้องการคำปรึกษาในการเลือกไฟแฟลช สามารถสอบถามได้ที่ Lnwgadget พร้อมให้บริการทั้งก่อนและหลังการขาย

×Close search
Search