fbpx
skip to Main Content

วิธีเลือกใช้ GND Filter สำหรับถ่ายภาพ Landscape เพื่อภาพถ่ายที่สวยงามและน่าหลงใหล

วิธีเลือกใช้ GND Filter เพื่อถ่ายภาพทิวทัศน์ โดยฟิลเตอร์ GND หรือแผ่นฟิลเตอร์แบบครึ่งซีก (Graduated Neutral Density Filter) ถูกออกแบบมาเพื่อการใช้งานที่แตกต่างกันออกไป โดย GND Filter แต่ละตัวมีความสามารถเฉพาะตัว ที่เหมาะกับประเภทของงานต่าง ๆ ในการถ่ายภาพ Landscape วันนี้ผมจะมาบอกวิธีเลือกใช้ GND Filter สำหรับถ่ายภาพ Landscape สามารถทำได้ตามขั้นตอนดังต่อไปนี้

1.ประเมินสภาพแสงหรือความแปรผันความสว่าง

ก่อนจะเลือกใช้ GND Filter ควรสำรวจและประเมินสภาพแสงก่อนถ่ายภาพทิวทัศน์ โดยสังเกตว่าระดับความสว่างระหว่างท้องฟ้ากับพื้นดินแตกต่างกันมากน้อยแค่ไหน เพราะนี่คือจุดที่จะใช้ประโยชน์ของฟิลเตอร์ GND เพื่อลดแสงบนท้องฟ้า ทำให้ภาพมีความสมดุลหรือบาลานซ์ระหว่างแสงบนท้องฟ้าและพื้นดินได้ หรือสามารถเก็บรายละเอียดทั้งสองส่วนได้นั่นเอง ในการถ่ายภาพเพียงครั้งเดียว

2.เลือกความเข้มแสงของ GND Filter

สำหรับฟิลเตอร์ GND มีความเข้มให้เลือกใช้งานหลากหลายตามความต้องการ โดยความเข้มที่นิยมใช้สำหรับถ่ายภาพ Landscape ที่บริเวณท้องฟ้าสว่างกว่าส่วนที่เป็นพื้นดินมาก คือ 2 Stop , 3 Stop และ 4 Stop โดยเฉพาะการถ่ายย้อนแสงในช่วงดวงอาทิตย์ตกหรือขึ้น

ถ้าหากในภาพมีความสว่างที่แตกต่างกันน้อย ก็อาจจะใช้ GND Filter ที่มีระดับความเข้มน้อย ถ้าหากความแตกต่างมาก อาจจะต้องใช้ GND Filter ที่มีระดับความเข้มมากขึ้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสภาพแสง เลือกใช้ GND ที่มีความเข้มแสงที่เหมาะสมกับความแตกต่างของความสว่างในภาพ

3.เลือกชนิดของ GND Filter ตามประเภทของภาพ

ชนิดของ GND Filter มีให้เลือกตามใช้งานตามประเภทของภาพ โดยชนิดของฟิลเตอร์หลัก ๆ มีอยู่ด้วยกัน 4 แบบ คือ Soft GND, Medium GND, Hard GND, Reverse GND โดยชนิดของฟิลเตอร์ที่นิยมใช้ถ่ายภาพ Landscape คือ GND Hard และ GND Soft

GND Hard Filter เป็นฟิลเตอร์ที่มีการไล่ระดับความเข้มแบบหนัก จะมีช่วงเกลี่ยน้อย ทำให้มีเส้นแบ่งช่วงเข้มและช่วงใสกันที่ชัดเจน เหมือนเส้นตรง ใช้สำหรับแสงที่มีความแตกต่างเห็นได้ชัดเจน เช่น เน้นถ่ายภาพ Seascape หรือถ่ายภาพท้องฟ้าสว่างและทะเลมืดมาก

โดยเราสามารถเลือกความเข้มของ GND ตามสภาพแสงที่ต้องการ ซึ่งออกแบบมาเพื่อการถ่ายภาพทะเลโดยเฉพาะ เหมาะกับการถ่ายภาพทะเล สำหรับถ่ายภาพทิวทัศน์ที่มีขอบเขตแยกชัดเจน เช่น แม่น้ำ ริมชายหาด เป็นต้น เนื่องจากเราสามารถวางจุดตัดส่วนเข้มไว้ที่ส่วนท้องฟ้าพอดี และส่วนใสวางที่ทะเล ทำให้เราสามารถแบ่งเส้นได้อย่างชัดเจน เพื่อลดแสงของท้องฟ้าได้ทั้งหมด

GND Soft Filter มีความคล้ายกับ GND Hard Filter ต่างกันที่ GND Soft Filter จะมีความเข้มของสีน้อยกว่า โดยไล่ระดับความทึบของฟิลเตอร์แบบนุ่มนวล ค่อย ๆ เกลี่ยไล่เฉดความเข้มลงมาใส สำหรับลดแสงท้องฟ้า ในกรณีที่มีความต่างของแสงท้องฟ้าและพื้นดินมาก เพื่อให้สามารถเก็บรายละเอียดของเมฆและสีของท้องฟ้าได้อย่างสวยงามเป็นธรรมชาติ ในขณะเดียวกันก็สามารถเก็บรายละเอียดของพื้นดินได้หมดครบถ้วน โดย GND Soft Filter จะช่วยให้แสงของท้องฟ้าและพื้นดินสมดุลมากที่สุด เหมาะกับถ่ายภูเขา ถ่าย City Scape และอยากได้ลดแสงแบบนุ่มนวล ให้ความรู้สึกเหมือนแสงธรรมชาติ ทั้งนี้เลือกใช้งานให้ตรงกับสถานการณ์ที่เลือกใช้

4.ติดฟิลเตอร์ GND

เมื่อเลือกแผ่นฟิลเตอร์เสร็จแล้ว ให้ติดฟิลเตอร์ GND ที่เลือกมา ควรติดอย่างระมัดระวังที่บริเวณด้านหน้าเลนส์ของคุณ ตรวจสอบให้แน่ใจว่าฟิลเตอร์อยู่ในแนวที่ถูกต้องกับเส้นขอบฟ้าหรือจุดเปลี่ยนผ่านที่ต้องการหรือไม่

5.ฝึกฝนและทดลองใช้งานฟิลเตอร์อยู่เสมอ

การฝึกฝนและการทดลองเป็นกุญแจสำคัญในการใช้ฟิลเตอร์ GND อย่างเชี่ยวชาญ สำรวจความเข้มของฟิลเตอร์ องค์ประกอบ และสภาพแสงต่างๆ เพื่อสร้างภาพทิวทัศน์ที่สวยงาม น่าหลงใหลและสมดุลทางสายตา

สนใจเป็นเจ้าของฟิลเตอร์ K&F หรือต้องการคำปรึกษาในการเลือกฟิลเตอร์ สามารถสอบถามได้ที่ Lnwgadget พร้อมให้บริการทั้งก่อนและหลังการขาย

×Close search
Search