fbpx
skip to Main Content

ทำสตูดิโอไฟ 1 ดวง 2 ดวง และ 3 ดวง ต่างกันยังไง ช่วยในเรื่องอะไรได้บ้าง

ทำสตูดิโอไฟ 1 ดวง 2 ดวง และ 3 ดวง ต่างกันยังไง ช่วยในเรื่องอะไรได้บ้าง นอกจากเรื่องความสว่างแล้ว ไฟสตูดิโอยังสามารถสร้างเรื่องราวให้กับภาพได้อย่างน่าสนใจ โดยไฟแต่ละดวงจะทำหน้าที่ต่างกัน เช่น การเป็นไฟหลัก ไฟเสริม และไฟตกแต่ง จะใช้ไฟ 1,2 หรือ 3 ถึง 10 ดวง ซึ่งที่สุดแล้วก็อยู่ที่มุมมองของผู้ผลิตงานว่าต้องการให้ผลงานที่ได้มีรูปแบบอย่างไร 

ทำสตูดิโอไฟ 1 ดวง 2 ดวง และ 3 ดวง ต่างกันยังไง ช่วยในเรื่องอะไรได้บ้าง

การใช้ไฟสตูดิโอเพียง 1 ตัว เพิ่มความสว่างเห็นรายละเอียดของตัวแบบมากขึ้น สร้างความเปรียบต่างของแสงเงาที่ชัดเจน

ความสว่างของไฟสตูดิโอเป็นเหตุผลต้น ๆ เมื่อต้องการเลือกไฟเพื่อมาใช้งาน แต่เมื่อต้องการใช้เพียงดวงเดียว อาจจะเลือกที่แสงสว่างสูงแต่ปรับความสว่างได้ หรืออาจจะเลือกไฟตัวเล็ก ที่จะเป็นการเพิ่มความสว่างในบางจุดเพื่อให้เห็นรายละเอียดของตัวแบบชัดขึ้น 

ซึ่งการใช้ไฟดวงเดียวส่วนมากมักจะเน้นความแตกต่างระหว่างจุดมืดและจุดสว่างที่ชัดเจน creator บางคนเลือกที่จะใช้ไฟดวงเดียว ส่องเข้าด้านใดด้านหนึ่ง หรือ ส่องจากด้านบนของตัวแบบ เพื่อสร้างเงามืดที่เข้มตัดกับแสงสว่างที่ส่องลงไปที่ตัวแบบ จึงเป็นวิธีการใช้ไฟดวงเดียวที่น่าสนใจ

การใช้ไฟ 2 ตัว เพื่อการสร้างเงาที่นุ่มนวลขึ้น ลดความเข้มของเงาที่ตกกระทบ

การใช้ไฟ 2 ตัว เพื่อช่วยเพิ่มความสว่าง และช่วยลบเงาในบางส่วน มักจะเป็นการใช้ไฟที่มีความสว่างหรือความเข้มไม่เท่ากัน โดยไฟตัวหลัก เป็นไฟที่สว่างกว่า และทำหน้าที่ให้แสงสว่างหลักแก่ตัวแบบ ส่วนไฟตัวที่สอง เป็นไฟที่ช่วยเติมไม่ให้เงาชัดเกินไป หัวความรู้สึกของภาพนิ่มนวลขึ้น ลดความต่างของแสงและเงาในภาพลง

อย่างไรก้ตาม การใช้ไฟสองดวงที่มีความเข้มเท่ากันและความสว่างเท่ากัน ก็ใช้ได้ด้วยอยู่ที่การจัดวางองศา เพื่อให้ได้ความสว่าง และแสงเงาได้ตามที่ต้องการ 

การใช้ไฟ 3 ตัว เพิ่มความโดดเด่นให้กับตัวแบบ แยกตัวแบบออกจากพื้นหลังได้อย่างชัดเจน

นอกจากตัวไฟหลัก ตัวไฟเสริมลบเงา ไฟตัวที่สาม ยังสามารถเพิ่มความสว่าง หรือเพิ่มมิติให้กับตัวแบบได้ ในการณีนี้เราจะพูดถึงตัวแบบที่เป็นคนในงานสตูดิโอที่มีผู้พูด และต้องให้ผู้พูดดูโดดเด่น และดึงตัวผู้พูดออกจากพื้นหลัง ไฟตัวที่สามจะเป็นตัวสำคัญที่สร้างเส้นขอบแสงให้กับตัวแบบดูแยกออกมาจากพื้นหลังด้วยการส่องไฟดวงที่สามเข้าด้านหลังของตัวแบบ หรือแม้แต่การส่องเข้าบนากหลัง เพื่อสร้างวงสว่างด้านหลังตัวแบบ ก็เป็นอีกลักษณะหนึ่งที่เราเห็นได้อยู่บ่อยครั้งเช่นกัน ซึ่งนอกจากจะใช้ไฟสีเดียวกับตัวหลักแล้ว ยังสามารถปรับให้เป็นสีอื่น ที่ช่วยย้อมสีของแสงในเฟรม ให้ดูมีมิติมากยิ่งขึ้น 

การใช้ไฟหลายดวง 

นอกจากการใช้ไฟเพื่อเพิ่มความสว่าง การปรับแสงและเงาแล้ว การใช้ไฟเสริมดวงอื่น ๆ ยังเป็นการตกแต่งเฟรมภาพให้องค์ประกอบลงตัวมากขึ้น และถ้าหากไฟที่เลือกใช้ สามารถปรับเปลี่ยนสีได้ ยังจะช่วยสร้างบรรยากาศ มู้ดและโทนของภาพให้ได้อารมณ์ที่แตกต่างไป ซึ่งหลายครั้งเราจะเห็นว่า Creator มืออาชีพ มักจะใช้ไฟ RGB เพื่อย้อมสีของแสง และวัตถุในบางจุด เพื่อเพิ่มความโดดเด่นให้กับงานนั่นเอง 

ไฟสตูดิโอ Nanlite นำเข้าและจัดจำหน่ายโดย COB พร้อมให้เป็นเจ้าของแล้ววันนี้ที่ร้านกล้องและร้านแกดเจ็ตชั้นนำทั่วประเทศ

×Close search
Search