fbpx
skip to Main Content

ความแตกต่างระหว่างฟิลเตอร์กลม Vs ฟิลเตอร์แผ่น สำหรับใช้งานถ่ายภาพ Landscape

ปัจจุบันในตลาดฟิลเตอร์มีให้เลือกซื้อทั้งแบบกลมและแบบแผ่น ซึ่งส่วนใหญ่เราก็จะเห็นแบบกลมกันมากกว่า แบบแผ่นไม่ค่อยมีใครใช้กัน เนื่องจากราคาค่อนข้างสูง และการพกพาที่อาจจะต่างกัน ในวันนี้จะเป็นเรื่องความแตกต่างระหว่างฟิลเตอร์กลมกับฟิลเตอร์แผ่น แบบไหนเหมาะสำหรับใช้งานถ่ายภาพ Landscape

1.ลักษณะของฟิลเตอร์แผ่นและฟิลเตอร์กลม

แน่นอนความแตกต่างแรก คือ รูปลักษณะ โดยทั่วไปแล้วฟิลเตอร์กลมจะมีลักษณะเป็นทรงกลม ซึ่งออกแบบมาให้พอดีกับเลนส์ มีเกลียวหมุนช่วยให้ติดเข้ากับหน้าเลนส์ ไม่สามารถใช้งานด้วยกันกับเลนส์ขนาดที่ต่างกันได้ ในขณะที่ฟิลเตอร์แผ่นจะมีลักษณะเป็นสีเหลี่ยม หรือสี่เหลี่ยมจัตุรัส ซึ่งจะต้องยึดฟิลเตอร์ด้านหน้าเลนส์ โดยเม้าท์พิเศษ หรือที่เรียกว่า Holder ซึ่งทำหน้าที่จับยึดแผ่นฟิลเตอร์แผ่น โดยเม้าท์จะมีทั้งแบบใส่ฟิลเตอร์แผ่นเดียวหรือหลายแผ่นก็ได้ ใช้ในกรณีที่ใช้ฟิลเตอร์ซ้อนกันหลายชนิด

2.ฟิลเตอร์แผ่นใช้งานเอฟเฟคหลาย ๆ แผ่นพร้อมกันได้

ความหยืดหยุ่นการใช้งานฟิลเตอร์กลมค่อนข้างจำกัด ด้วยการออกแบบให้ติดกับหน้าเลนส์พอดี จึงใช้ฟิลเตอร์ได้เพียงตัวเดียว หากต้องการใช้เอฟเฟคมากกว่านั้น เอฟเฟคในฟิลเตอร์ต้องมากกว่า 2 แบบ เช่น ฟิลเตอร์ CPL ช่วยตัดเงาสะท้อน และเพิ่มความฟ้าให้ท้องฟ้า และ ND ลดปริมาณแสงที่เข้าสู่เลนส์ โดยเอฟเฟคทั้งสองแบบอยู่ในฟิลเตอร์เดียวกัน เพราะการออกแบบที่ให้หมุนฟิลเตอร์กลมเข้าหน้าเลนส์พอดี ไม่สามารถใช้งานร่วมกับเลนส์หลายขนาดได้

ส่วนฟิลเตอร์แผ่นสี่เหลี่ยมขนาดใหญ่ มีเอฟเฟคแบบต่าง ๆ ให้เลือกมากมาย ฟิลเตอร์แบบแผ่นถือว่าเป็นที่ชื่นชอบสำหรับถ่ายภาพวิว ทิวทัศน์ สามารถสร้างสรรค์ผลงานที่แตกต่างออกไปได้มากมาย เพราะมีตัวยึดหน้าเลนส์ Holder ซึ่งจะช่วยยึดฟิลเตอร์หลาย ๆ แผ่นไว้ ทำให้สามารถใช้เอฟเฟคฟิลเตอร์ที่มีได้มากกว่า 2 แผ่น

เช่น การใช้งาน ND Fillter ฟิลเตอร์ลดแสง ไปพร้อม ๆ กับฟิลเตอร์ PL ลดแสงสะท้อน และ GND Filter ฟิลเตอร์แบบครึ่งซีก เพื่อลดแสงบนท้องฟ้า ทำให้เราสามารถสร้างผลงานที่แตกต่างออกไปได้มาก และน่าสนใจมากยิ่งขึ้น จึงทำให้ตอบโจทย์การถ่ายภาพ Landscape มืออาชีพ

3.ขนาดของฟิลเตอร์

ฟิวเตอร์กลมมีให้เลือกหลายขนาด เพื่อให้ผู้ใช้งานเลือกขนาดฟิวเตอร์จะพอดีกับเลนส์ที่มีอยู่ เพราะต้องหมุนเข้ากับหน้าเลนส์ ขนาดจึงค่อนข้างสำคัญ ซึ่งฟิลเตอร์กลมไม่สามารถใช้งานร่วมกับเลนส์ที่มีขนาดต่างกันได้ แต่ถ้ามีฟิลเตอร์ขนาด 82 มิลลิเมตร สามารถใช้งานอะแดปเตอร์หรือตัวแปลง เพื่อแปลงหน้าเลนส์ ทำให้สามารถใช้งานฟิลเตอร์กับเลนส์ที่มีอยู่ได้ โดยไม่ต้องซื้อฟิลเตอร์เพิ่ม

ส่วนฟิลเตอร์แผ่นจะมีขนาดที่แตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับกล้อง และเลนส์ที่ใช้งาน ซึ่งฟิลเตอร์แผ่นสามารถใช้งานร่วมกับเลนส์ได้ ถ้ามีขนาดใกล้เคียงกัน โดยขึ้นอยู่กับ Holder ที่ใช้ด้วย

4.ความคล่องตัวในการใช้งาน

ฟิลเตอร์กลมให้ความคล่องตัวในการทำงาน สามารถติดตั้งหรือถอดออกจากเลนส์ได้อย่างรวดเร็ว เพียงหมุนต่อเข้ากับกล้องก็ใช้งานได้เลย ด้วยขนาดฟิลเตอร์ที่เล็ก จึงสะดวกในการหยิบจับ และใส่กระเป๋าพกพาไปถ่ายภาพ Landscape ได้อย่างง่ายดาย

ข้อเสียฟิลเตอร์กลมถ้ามีเลนส์หลายระยะ ก็ต้องมีฟิลเตอร์หลายขนาดด้วย เพราะไม่สามารถใช้งานร่วมกันได้ จึงต้องใช้ฟิลเตอร์หลายขนาด

ในขณะเดียวกัน ฟิลเตอร์แผ่นสามารถใช้งานร่วมกันได้ในหลายระยะเลนส์ สามารถใส่ฟิลเตอร์หลายประเภทพร้อมกันได้ ทำให้ได้ภาพที่คมชัดและแม่นยำยิ่งขึ้น การใช้งานหยืดหยุ่นกว่าฟิลเตอร์กลม ฟิลเตอร์แผ่นจึงเป็นที่นิยมใช้งานในกลุ่มช่างภาพ Landscape มืออาชีพ เพราะให้คุณภาพของภาพที่สูงกว่า

ฟิลเตอร์แผ่นก็มีข้อเสียเช่นกัน ในเรื่องของการพกพาค่อนข้างลำบาก เพราะฟิลเตอร์มีขนาดใหญ่และมีน้ำหนักมากกว่า การติดตั้งและการใช้งานอาจจะใช้เวลามากกว่า ฟิลเตอร์แบบกลม เพราะฉะนั้น เลือกใช้จุดเด่นของฟิลเตอร์แต่ละแบบ ใช้งานให้ตอบโจทย์กับลักษณะของเรา ถ้าต้องการความสะดวก งบประมาณที่ไม่สูง ให้ภาพที่สวย ฟิลเตอร์กลมก็ตอบโจทย์ ถ้ามีกำลังซื้อ

สรุป

ฟิลเตอร์กลมและฟิลเตอร์แผ่นมีทั้งข้อดีและข้อเสียแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับลักษณะงานที่ใช้ของเพื่อน ๆ หากเป็นมือใหม่พึ่งเริ่มต้นถ่ายภาพ Landscape ต้องการความสะดวก งบประมาณไม่สูง ถ่ายภาพสวยงาม เลือกฟิลเตอร์กลมก็เพียงพอในระดับเริ่มต้น แต่สำหรับช่างภาพ Landscape มืออาชีพ จะนิยมใช้งานฟิลเตอร์แผ่น เพราะสร้างสรรค์งานได้หลากหลายกว่า ต้องการความซับซ้อน คุณภาพของภาพสูง

สนใจเป็นเจ้าของฟิลเตอร์ K&F หรือต้องการคำปรึกษาในการเลือกฟิลเตอร์ สามารถสอบถามได้ที่ Lnwgadget พร้อมให้บริการทั้งก่อนและหลังการขาย

×Close search
Search