ไมโครโฟน Dynamic และ Condenser ต่างกันยังไง และข้อควรระวังในการเลือกนำมาใช้ ไมโครโฟนที่เราใช้อยู่ในปัจจุบันถูกแบ่งออกเป็น 2 แบบใหญ่ ๆ คือไมโครโฟน Dynamic และ Condenser ซึ่งหลักการทำงานของไมโครโฟนที่สองประเภทจะแตกต่างกัน ซึ่งทำให้การใช้งานเฉพาะด้านมีความแตกต่างกันไปด้วย เรามาดูกันว่า มีความแตกต่างกันยังไงและข้อระวังในการเลือกนำมาใช้มีอะไรกันบ้าง
ไมโครโฟน Dynamic และ Condenser ต่างกันยังไง และข้อควรระวังในการเลือกนำมาใช้
ไมโครโฟน Dynamic และ Condenser ต่างกันยังไง
1. กลไกการทำงานการบันทึกเสียง ไมค์ Dynamic จะรับคลื่นเสียงและเปลี่ยนเป็นสัญญาณไฟฟ้าด้วยการกระแทกของคลื่นเสียงขยับขดลวดผ่านสนามแม่เหล็ก และไมค์ Condenser จะมีไดอะแฟรมที่เป็นแผ่นโลหะบางที่ไวต่อการกระทบ จะขยับและเปลี่ยนเป็นสัญญาณไฟฟ้าทันที แม้จะมีการกระทบที่เบามากก็ตาม
2. ความไวต่อเสียง การรับสัญญาณเสียง เนึ่งจากกลไกที่ทำงานทำให้ความไวในการรับเสียง ตอบสนองต่อเสียงต่างกัน ไมค์ Condenser จะตอบสนองต่อเสียงในย่านเสียงที่กว้างและรับสัญญาณเสียงได้อย่างรวดเร็วแลแะแม่นยำมากกว่าไมค์ Dynamic
ไมค์ Dynamic สามารถรับแรงกระแทกของเสียงได้ดี
การทำงานของไมค์ไดนามิคเกิดจากการสั่นสะเทือนของคลื่นเสียงสร้างการเคลื่อนไหวของขดลวดผ่านสนามแม่เหล็ก จึงเกิดสัญญาณไฟฟ้าของคลื่นเสียง เพื่อใช้ในการบันทึกเสียง ซึ่งข้อดีของกลไกในลักษณะที่คือ สามารถรับแรงกระแทกของเสียงได้มากกว่า จึงใช้รับเสียงของเครื่องดนตรีที่มีแรงกระแทกเสียง เช่นเครื่องตี หรือกีตาร์เบส และทำงานร่วมกับเครื่องขายเสียง เพื่อให้ได้คุณภาพเสียงที่สมบูรณ์มากขึ้น
ไมค์ Dynamic เหมาะสำหรับการทำงานกลางแจ้งลดเสียงรบกวนได้ดี
เนื่องจากการรับเสียงต้องได้รับแรงกระทบค่อนข้างสูง เวลาใช้งานจึงต้องให้ไมค์อยู่ใกล้กับปากหรือจ่อเข้าที่เครื่องดนตรี แหล่งกำเนิดเสียง เพื่อให้รับเสียงได้อย่างเต็มที่ ซึ่งมีข้อดีคือ ลดเสียงรบกวนได้ดีเพราะไมค์ชนิดนี้มีความไวต่อการรับเสียงค่อนข้างต่ำนั่นเองครับ ดังนั้นจึงเหมาะกับงานนนอกสตูดิโอ งานกลางแจ้ง งานคอนเสิร์ต
ไมค์ Condenser มีความไวต่อเสียงสูงเก็บเสียงได้ถึงแม้จะเกิดเสียงเพียงเล็กน้อย
เนื่องจากกลไกการรับเสียงของไมโครโฟนเป็นแผ่นโลหะบางที่ไวต่อการกระทบ โดยแผ่นโลหะจะต้องมีกระแสไฟฟ้าเลี้ยงไว้เสมอ และเมื่อไหร่ก็ตามที่มีแรงมากระทบ (อาจจะเป็นเสียงที่เกิดจากการพูด การเคาะ การหายใจ หรือแม้แต่การขยับเบา ๆ ) จะเกิดการสั่นสะเทือนขึ้นตัวแผ่นโลหะจะสร้างคลื่นสัญญาณเสียงทันที
ดังนั้นจึงเหมาะสำหรับการบันทึกเสียงที่เครื่องดนตรี เสียงพูด และที่ใช้กันอย่างมากมายในปัจจุบันก็คือการใช้เพื่อบันทึกเสียงแบบ ASMR ทั้งเสียงขยับ เสียงการเคี้ยว การกลืน แม้กระทั่งเสียงหายใจเบา ๆ ไมค์ก็สามารถรับเสียงได้อย่างชัดเจน
ไมค์ Condenser เหมาะสำหรับการเก็บเสียงรอบด้าน และ Sound Effect
ไมค์ Condenser เป็นไมค์ที่เห็นเสียงได้ละเอียดทั้งเสียงต่ำไปจนถึงเสียงสูง จึงสามารถเก็บเสียงได้อย่างครบถ้วน ถึงแม้จะเป็นเสียงที่หูมนุษย์แทบจะไม่ได้ยิน สามารถใช้เป็นไมค์ที่ใช้เป็นเสียงร้อง เสียงเครื่องดนตรีถ้าไม่ต้องการเสียงรบกวนมากควรใช้งานในสตูดิโอ เช่นงานสัมภาษณ์ Podcasting การบันทึกเสียงร้อง cover เพลง เล่นดนตรี กีตาร์ เปียโน
เนื่องจากการรับเสียงได้ดีมากการทำงานในสตูดิโอสามารถควบคุมปัจจัยเรื่องเสียงได้มากกว่า ซึ่งถ้าใช้งานด้านนอกสตูดิโอจะได้เสียงบรรยากาศรอบด้านเข้ามาด้วย
ไมค์ Condenser มักจะเกิดการกระแทกเสียงจึงต้องมีอุปกรณ์ที่ลดการกระแทกของเสียง
ไมค์ชนิดคอนเดนเซอร์ จะมีความไวต่อเสียงสูงมาก เสียงที่ดังมากกว่าปกติเล็กน้อยหรือการกระแทกเสียง จะทำให้เกิดก้อนของเสียงกระแทกลงไปบนไมค์ จึงเกิดเสียง “ป๊อบ”ขึ้น ซึ่งเสียง/พ/ /ป/ /ต/ /ท/ มักจะให้ลมและการกระแทกค่อนข้างสูง ดังนั้นจึงต้องมีอุปกรณ์ที่ช่วยป้องกันการเกิดเสียงกระแทก (Pop Filter) เพื่อช่วยให้เสียงที่ได้ยินไม่ถูกรบกวนจากเสียงลมกระแทกเวลาพูดนั่นเองครับ