เปรียบเทียบความสามารถเด่นของโดรนทั่วไปและโดรน Enterprise โดรนกลายเป็นเครื่องมืออย่างหนึ่งที่ถูกใช้กันอย่างแพร่หลาย ทั้งการบันทึกภาพความประทับใจแบบส่วนตัว การเดินทางท่องเที่ยว การถ่ายทำงานวิดีโอ สารคดี หรืองานภาพยนตร์ ซึ่งถือได้ว่าโดรนมีบทบาทสำคัญอย่างมาเราจึงเห็นการพัฒนาความสามารถของโดรนอย่างต่อเนื่อง ทั้งความสามารถด้านการถ่ายภาพ วิดีโอ การถ่ายทำภาพยนตร์ ความคมชัดของภาพ และความสามารถทางด้านการบิน และก็มีโดรนอีกแบบหนึ่งซึ่งจะถูกเรียกว่า Drone Enterprise ที่มีความสามารถที่แตกต่างออกไป และใช้งานในรูปแบบที่ไม่เพียงแต่การถ่ายภาพและวิดีโอเท่านั้น แต่เป็นการใช้งานในเชิงสำรวจ การคำนวณและวัดพื้นที่ การตรวจจับและค้นหาสิ่งของ บุคคล และสัตว์ รวมไปถึงการทำงานในด้านการบรรเทาสาธารณะภัยเหมาะกับการใช้งานทั้งงานภาครัฐและเอกชนโดยเฉพาะภาคอุตสาหกรรม และงานที่มีความเสี่ยง
เปรียบเทียบความสามารถเด่นของโดรนทั่วไปและโดรน Enterprise
ควมสามารถด้านการถ่ายภาพนิ่ง
โดรนทั่วไปจะมีความสามารถที่โดดเด่นด้านการถ่ายภาพและวิดีโออย่างมาก ซึ่งขนาดของเซ็นเซอร์ที่ใหญ่ ได้ภาพสวยคมชัดเหมือนใช้กล้องถ่ายภาพ ซึ่งความละเอียดจากโดรนอย่าง Mavic 3 Cine มีความละเอียดถึง 20 ล้านพิกเซล ซูมได้สูงสุด 4 เท่า
และสำหรับ โดรน Enterprise รุ่นล่าสุดอย่าง Mavic 2 Enterprise Advanced มีความละเอียดสูงถึง 48 ล้านพิกเซล วิดีโอ MP4 การซูมเพื่อให้เห็นได้ชัดเจนมากยิ่งขึ้นสูงสุดถึง 32 เท่า
ซึ่งจะเห็นว่าความละเอียดภาพของ โดรน Enterprise ช่วยให้ได้ภาพที่คมชัดทั้งยังซูมได้สูงสุดถึง 32 เท่า จึงช่วยให้โดรนสามารถถ่ายภาพได้ถึงแม้จะอยู่ห่างจากพื้นที่หรือบริเวณที่ต้องการถ่ายภาพได้ในระยะไกล ทั้งยังเป็นการลดความเสี่ยงหากพื้นที่นั้นเป็นพื้นที่อันตราย ซึ่งโดรนไม่จำเป็นต้องเสี่ยงบินเข้าใกล้พื้นที่เหล่านั้นเลยด้วยครับ
ความสามารถด้านการบันทึกวิดีโอ
ความสามารถด้านวิดีโอของโดรนที่ใช้ทั่วไป ให้คุณภาพและความละเอียดได้ถึง 4 – 5.1K และรองรับการถ่ายทำโดยใช้ ProResRaw ซึ่งในโดรนอย่าง Mavic 2 Enterprise Advanced มีความละเอียดของไฟล์วิดีโอเพียง MP4
ซึ่งจะเห็นได้ว่า โดรนทั่วไปมีความสามารถด้านการถ่ายวิดีโอที่สูงกว่า แต่ความสามารถในงานวิดีโอถูกลดความสำคัญลงใน Mavic 2 Enterprise ที่เน้นความสามารถด้านงานภาพ และความสามารถด้านอื่น ๆ แทน
ความสามารถในการตรวจจับความร้อน
โดรนทั่วไปมีความสามารถด้านงานภาพและวิดีโอที่โดดเด่นอย่างมาก แต่ที่ โดรน Enterprise มีความสามารถที่แตกต่างไป และเป็นความสามารถที่เป็นเอกลักษณ์ ที่ไม่เห้นคุณสมบัตินี้ในโดรนที่ไปนั่นก็คือคือ การที่กล้องสามารถตรวจจับความร้อนได้อย่างแม่นยำ
ดังนั้น โดรน Enterprise จึงทำหน้าที่ในการตรวจจับสิ่งผิดปกติที่สามารถตรวจสอบได้ผ่านการแผ่ความร้อน และยังสามารถใช้ในภาระกิจเพื่อค้นหาคนหรือสัตว์ ด้วยการใช้กล้องเพื่อตรวจจับความร้อนนั่นเองครับ
ความสามารถด้านการบิน
โดรนรุ่นใหม่ มีความสามารถในการบินที่เร็ว โฉบเฉี่ยว หลบหลีกสิ่งกีดขวางได้ดีทุกทิศทาง ทั้งยังสามารถบินนานได้ตั้งแต่ 30-46 นาที ซึ่งถือว่าเป็นการบินที่ยาวนาน ซึ่งโดรน Enterprise มีความสามารถทางด้านการบินที่โดดเด่นไม่แพ้กัน ทั้งการบินได้เร็ว ทนต่อแรงลม และและการบินได้อย่างปลอดภัย หลบหลีกสิ่งกีดขวางได้ด้วยเซ็นเซอร์รอบตัว แต่ที่แตกต่างคือ โดรน Enterprise บินได้นานที่สุดประมาณ 31 นาที
ความสามารถในการส่งสัญญาณและควบคุมระยะไกล
โดรนทั่วไปและ โดรน Enterprise มีความสามารถในการรับส่งสัญญาณระยะไกลได้ประมาณ 10 กิโลเมตร แต่ความสามารถในการรับส่งระยะไกลที่มีระยะถึง 15 กิโลเมตรนั่นก็คือ Mavic 3 Cine นั่นเองครับ
อย่างไรก็ตาม การรับส่งสัญญาณที่ 10 กิโลเมตรก็สามารถตอบโจทย์การใช้งานในระดับอุตสากรรม และการจัดสรรพื้นที่ การทำแผนที่ และการวัดระยะได้อย่างเต็มที่แล้วครับ
ความสามารถในการวัดระยะทาง วัดพื้นที่ และโมดุลเสริม
โดรน Enterprise จะมีโมดุลเสริมที่มีให้เลือกใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของโดรน และการทำงานที่ตรงความต้องการมากที่สุด เช่น RTK Module ที่ช่วยให้โดรนมีความแม่นยำในการวัดระยะและและพื้นที่ Spotlight เป็นไฟเสริมที่ช่วยให้การมองเห็นในที่มืด Speaker ช่วยให้สามารถสื่อสารได้ระหว่างจุดควบคุมและผู้ปฏิบัติงานในพื้นที่ Beacon เป็นไฟกระพริบที่ทำให้ทราบตำแหน่งของโดรนได้ในที่มืด เป็นต้น
ส่วนการทำงานและโมดุลเสริมของโดรนทั่วไปจะเน้นไปทางด้านความสามารถด้านการถ่ายภาพ และการบิน เพราะตอบโจทย์การใช้งานด้านการถายภาพและวิดีโอโดยเฉพาะ เช่น การเพิ่มฟิลเตอร์ การเปลี่ยนใบพัดเพื่อให้รองรับการทำงานได้ดีขึ้น เก็บเสียงได้มากขึ้น ความสามารถด้านการวัดพื้นที่ หรือคำนวณระยะทางจึงอยู่ที่ โดรน Enterprise นั่นเองครับ
ความสามารถในการทำงานในภูมิอากาศที่หลากหลาย
โดรนในกลุ่ม Enterprise จะมีระบบ Self-heating Batteries แบตเตอรี่จะมีระบบอุ่นในตัว จึงช่วยให้โดรนยังคงทำงานได้ในพื้นที่ที่มีอุณหภูมิตั้งแต่ -10° ถึง 40° C สามารถเข้าปฏิบัติการ ลาดตระเวน ตรวจสอบ หรือทำงานด้านความปลอดภัย การช่วยเหลือและกู้ภัยได้หลากหลายพื้นที่ ซึ่งคุณสมบัติด้าน Self-heating Batteries ยังคงไม่ได้ใช้ในโดรนทั่วไป