fbpx
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม

5 เรื่องควรรู้เกี่ยวกับอุณหภูมิสีสำหรับมือใหม่ และการใช้ในการถ่ายภาพนิ่งและวิดีโอ

5 เรื่องควรรู้เกี่ยวกับอุณหภูมิสีสำหรับมือใหม่ และการใช้ในการถ่ายภาพนิ่งและวิดีโอ เมื่อเริ่มต้นถ่ายภาพหรือการทำงานในสตูดิโอที่ต้องใช้ไฟสังเคราะห์หรือไฟต่อเนื่อง มักจะได้ยินเกี่ยวกับอุณหภูมิสีที่มีหน่วยเป็นเคลวิน ซึ่งกล้องถ่ายภาพและวิดีโอก็มีการปรับสมดุลแสงสีขาวมีหน่วยเป็นเคลวินเช่นกัน ทำให้มือใหม่หลายคนสงสัยว่าค่านี้คืออะไร วันนี้เราจะมาพูดถึง 5 เรื่องควรรู้เกี่ยวกับอุณหภูมิสีสำหรับมือใหม่และการใช้ในการถ่ายภาพนิ่งและวิดีโอ

5 เรื่องควรรู้เกี่ยวกับอุณหภูมิสีสำหรับมือใหม่ และการใช้ในการถ่ายภาพนิ่งและวิดีโอ เมื่อเริ่มต้นถ่ายภาพหรือการทำงานในสตูดิโอที่ต้องใช้ไฟสังเคราะห์หรือไฟต่อเนื่อง มักจะได้ยินเกี่ยวกับอุณหภูมิสีที่มีหน่วยเป็นเคลวิน ซึ่งกล้องถ่ายภาพและวิดีโอก็มีการปรับสมดุลแสงสีขาวมีหน่วยเป็นเคลวินเช่นกัน ทำให้มือใหม่หลายคนสงสัยว่าค่านี้คืออะไร วันนี้เราจะมาพูดถึง 5 เรื่องควรรู้เกี่ยวกับอุณหภูมิสีสำหรับมือใหม่และการใช้ในการถ่ายภาพนิ่งและวิดีโอ 

5 เรื่องควรรู้เกี่ยวกับอุณหภูมิสีสำหรับมือใหม่ และการใช้ในการถ่ายภาพนิ่งและวิดีโอ

1. อุณหภูมิสีคืออะไร ?

แสงสังเคราะห์หรือแสงจากหลอดไฟ ทั้งหลอดไฟแบบมีไส้ หรือหลอดไฟแบบ LED จะให้แสงที่มีช่วงของสีแตกต่างกัน โดยสามารถมองเห็นได้เมื่อให้ความร้อนกับโลหะแล้วแสงจะถูกเปล่งออกมาโดยให้สีที่ต่างกัน 

ซึ่งเราจะใช้อุณหภูมิสีในการอธิบายลักษณะแสงที่มาจากหลอดไฟซึ่งแสงที่ได้จะมีสีที่แตกต่างกัน โดยมีหน่วยวัดเป็นองศาเคลวิน (K) โดยเริ่มจากสีส้มแดงเปลี่ยนเป็นสีเหลืองจากนั้นจากสีขาวและน้ำเงินอมฟ้า 

2. องศาเคลวิน (degrees of Kelvin) คืออะไร ?

องศาเคลวิน (degrees of Kelvin; K) เป็นหน่วยวัดของอุณหภูมิตามระบบ SI (International System of Units; ระบบวัดหน่วยสากล) ซึ่งก็เหมือนกับองศาเซลเซียส องศาฟาเรนไฮด์ และก็ใช้เป็นหน่วยของอุณหภูมิสีด้วยโดยเฉพาะสีของแสงจากหลอดไฟ 

ดังนั้นอุณหภูมิสีของหลอดไฟช่วยให้เราทราบว่ารูปลักษณ์และความรู้สึกของแสงที่เกิดขึ้นจะเป็นอย่างไร โดยสีของแสงจากหลอดไฟสังเคราะห์สามารถที่จะให้สีใกล้เคียงกับแสงในธรรมชาติได้ เช่น ช่วงแสงกลางวันแบบ daylight อุณหภูมิสีอยู่ที่ประมาณ 5500K-6400K และดวงอาทิตย์ตก 2500K

3. ช่วงอุณหภูมิสีและแสงเปรียบเทียบ (correlated color temperature; CCT) 

สีของแสงที่ได้จากหลอดไฟมักจะให้แสงที่อยู่ในระดับอุณหภูมิตั้งแต่ 1,000K ถึง 10,000K ซึ่งหลอดไฟที่ผลิตออกมามักจะมีค่าอุณหภูมิสีอยู่ประมาณ  2000K ถึง 6500K เมื่อเทียบกับสีในแสงธรรมชาติก็จะได้แสงในช่วงเวลาที่แตกต่างกันไป เช่น 

2000K-3000K: ให้สีวอร์มไวท์และซอฟต์ไวท์แบบแสงเทียน แสงสีส้มตอนเย็น
3100K-4500K: ให้สว่างสีเหลืองอ่อน แสงสว่างช่วงเช้า
4600K-6500K: ให้สีขาวเหมือนกลางวันช่วงเที่ยง

4. ค่า CRI คืออะไร ทำไมต้องมีค่านี้?

ค่า CRI (Color Rendering Index ) หรือค่าความถูกต้องของสีเป็นค่าความถูกต้องที่วัดจากความสามารถของเเหล่งกำเนิดเเสงเช่นเเสงจากหลอดไฟที่ส่องกระทบเเละสะท้อนสีของวัตถุได้ตรงกับสีที่นำมาเป็นสีเปรียบเทียบ 

การวัดค่า  CRI จะมีค่าตั้งเเต่ 0-100 โดยแสงไฟที่มี CRI ที่มีการวัดค่าได้มากกว่า 80 จะถือว่ามากกว่าที่ยอมรับได้สำหรับการใช้งานส่วนใหญ่ เช่นหลอด LED ปกติค่าจะอยู่ที่ 80 เเต่แสงไฟที่มีค่า CRI ที่วัดได้มากกว่า 90 จะถือว่าไฟที่มีค่า CRI สูง ให้ความเเม่นยำสูงโดยให้สีที่ใกล้เคียงกับสีของวัตถุภายใต้เเสงธรรมชาติมากที่สุดนั่นเอง

ค่า CRI จะบอกได้ว่าไฟที่ใช้ทำให้สีของวัตถุ สีผิว หรือผลิตภัณฑ์ในงาน จะมีสีสันที่เที่ยงตรงขนาดไหน โดยถ้าไฟที่ให้ค่า CRI มากเท่าไหร่ ความเเม่นยำของสีก็มีมากเท่านั้น ดังนั้นในงานวิดีโอที่ต้องการความเเม่นยำของสีมากต้องการงานคุณภาพสูง เช่น การรีวิวสินค้า การรีวิวเสื้อผ้า เครื่องสำอางที่ต้องใช้ความเเม่นยำของสีสูง จึงจำเป็นต้องคำนึงถึงการเลือกซื้อไฟใช้ในงาน

5. การใช้อุณหภูมิสีในการถ่ายภาพนิ่งและวิดีโอ

เมื่อเราเลือกไฟมาใช้งานในการถ่ายภาพหรือการถ่ายวิดีโอ เช่นไฟแสงจากหลอดไฟแบบมีใส้ ไฟหลอดฟลูออเรสเซนต์ หรือหลอดไฟแบบ LED ซึ่งถ้าเป็นหลอดไฟที่มีคุณภาพจะบอกค่าอุณหภูมิสีมาให้ด้วย ว่าหลอดไฟที่ใช้อยู่ มีอุณหภูมิสีเท่าไหร่ ก็ช่วยให้ปรับสมดุลสีของแสงในภาพได้ 

และการปรับอุณหภูมิสีก็สัมพันธ์กับการปรับสมดุลแสงสีขาว (white balance) ตาของมนุษย์ไม่ไม่สามารถที่จะบอกได้อย่างชัดเจนว่า สีขาวที่เห็น ใช่สีขาวจริงหรือไม่ แต่กล้องถ่ายภาพและวิดีโอในปัจจุบันสามารถบอกได้ถึงอุณหภูมิแสงในขณะนั้น และสีขางที่ตามนุษย์เห็นนั้น เป็นสีขาวจริงหรือไม่ 

ดังนั้นการถ่ายภาพหรือวิดีโอที่ไม่ต้องการให้สีเพี้ยน สีติดส้ม ติดเหลือง หรือฟ้าเกินไป จึงต้องมีการปรับสมดุลแสงสีขาว ซึ่งก็คือการปรับอุณหภูมิของสีนั่นเอง ช่างภาพส่วนใหญ่โดยเฉพาะมือใหม่จะตั้งค่าสมดุลสีขาวเป็นอัตโนมัติเพื่อจัดการกับปัญหาอุณหภูมิสี แต่วิธีที่ดีที่สุด คือการปรับสมดุลแสงสีขาวก่อนจะเริ่มถ่ายภาพและวิดีโอ ซึ่งถ้าหากไม่ได้ปรับตั้งแต่เริ่ม ก็สามารถแก้ไขในกระบวนการแก้สีภายหลังได้ โดยอย่างลืมถ่ายภาพให้เป็นไฟล์ .raw เพื่อจะได้ปรับสีของแสงได้ง่ายขึ้น 

Prev
เปรียบเทียบ RODE Wireless GO 2 กับ COMICA BOOMX-D, HOLLYLAND LARK 150 และ SARAMONIC BLINK500 PRO ตัวไหนคุ้ม?

เปรียบเทียบ RODE Wireless GO 2 กับ COMICA BOOMX-D, HOLLYLAND LARK 150 และ SARAMONIC BLINK500 PRO ตัวไหนคุ้ม?

Next
15 ไอเดียการถ่ายภาพบุคคลกับแสงลักษณะต่าง ๆ เพื่อภาพที่โดดเด่น ดึงดูดตาและน่าสนใจ

15 ไอเดียการถ่ายภาพบุคคลกับแสงลักษณะต่าง ๆ เพื่อภาพที่โดดเด่น ดึงดูดตาและน่าสนใจ

You May Also Like