fbpx
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม

5 วิธีจัดแสงไฟสำหรับห้องหรือคอนโด ที่มีพื้นที่จำกัด และการเลือกอุปกรณ์ที่เหมาะสมมาใช้

5 วิธีจัดแสงไฟสำหรับห้องหรือคอนโด ที่มีพื้นที่จำกัด และการเลือกอุปกรณ์ที่เหมาะสมมาใช้ ห้องหรือสตูดิโอเพื่อการถ่ายภาพ ถ่ายวิดีโอ ทำชาแนล ไม่จำเป็นต้องมีขนาดใหญ่ก็ได้ เพียงพื้นที่ 9-10 ตารางเมตร หรือมุมหนึ่งของห้องนอน ห้องนั่งเล่น ก็สามารถจัดให้เป็นสตูดิโอเพื่อถ่ายทำได้ ซึ่งไฟที่จะนำมาใช้ในสตูดิโอก็ต้องคำนึงถึงความยืดหยุ่นในการใช้งาน และความอเนกประสงค์ในการจัดสรรพื้นที่ใช้สอย 

5 วิธีจัดแสงไฟสำหรับห้องหรือคอนโด ที่มีพื้นที่จำกัด และการเลือกอุปกรณ์ที่เหมาะสมมาใช้ ห้องหรือสตูดิโอเพื่อการถ่ายภาพ ถ่ายวิดีโอ ทำชาแนล ไม่จำเป็นต้องมีขนาดใหญ่ก็ได้ เพียงพื้นที่ 9-10 ตารางเมตร หรือมุมหนึ่งของห้องนอน ห้องนั่งเล่น ก็สามารถจัดให้เป็นสตูดิโอเพื่อถ่ายทำได้ ซึ่งไฟที่จะนำมาใช้ในสตูดิโอก็ต้องคำนึงถึงความยืดหยุ่นในการใช้งาน และความอเนกประสงค์ในการจัดสรรพื้นที่ใช้สอย 

5 วิธีจัดแสงไฟสำหรับห้องหรือคอนโด ที่มีพื้นที่จำกัด และการเลือกอุปกรณ์ที่เหมาะสมมาใช้

1. ไฟที่เป็นแสงสว่างหลัก เลือกไฟที่มีความสว่างเพียงพอ และปรับความสว่างได้ 

ไฟหลักคือแสงหลักที่ให้ความเข้มสูงสุด จริง ๆ แสงที่เข้าจากหน้าต่าง แสงธรรมชาติสามารถทำหน้าที่เป็นไฟหลักได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับช่วงเวลาของวันและสภาพอากาศดังนั้นการใช้แสงไฟสตูดิโอเพื่อให้วัตถุสว่างขึ้นหากแสงธรรมชาติไม่เพียงพอหรือไม่มี เพื่อให้เห็นรูปร่างรายละเอียดของวัตถุได้อย่างชัดเจนมากขึ้น 

โดยไฟหลักสามารถเลือกจากความสว่างที่เหมาะกับการใช้งาน โดยดูที่ขนาดห้อง ขนาดของวัตถุ หรือตัวแบบที่ต้องการให้แสงสว่าง เช่น การถ่ายภาพวัตถุ สินค้าขนาดเล็ก ไฟหลักที่ใช้ อาจจะเป็นไฟขนาดเล็ก จำนวนวัตต์ต่ำ เช่น 60-100 วัตต์ หรือถ้าตัวแบบขนาดใหญ่ขึ้น ต้องการความสว่างที่มากขึ้น 300-500 วัตต์ก็เป็นตัวเลือกที่ดี ซึ่งไฟหลักที่ปรับความสว่างได้ก็จะช่วยให้การทำงานง่ายขึ้นเมื่อต้องการปรับเพิ่มหรือลดความสว่างและถ้าใช้ไฟในห้องขนาดเล็ก จะให้ดีไฟหลักก็ต้องสามารถจัดวางในตำแหน่งที่ต้องการได้

2. ใช้ไฟเสริมเพื่อเติมมิติ แสงเงา ไฟตกแต่ง ย้อมสี และสร้างความน่าดึงดูดใจ

ไฟหลักตัวเดียวก็เพียงพอต่อการใช้งาน แต่ถ้าหามีไฟเสริม เพื่อสร้างมิติแสงเงา หรือไฟเพื่อย้อมสี ตกแต่ง สร้างสีสัน ก็ช่วยให้งานภาพหรืองานวิดีโอ ดูตื่นเต้นและน่าสนใจมากยิ่งขึ้น โดยไฟเสริมสามารถเพิ่มรายละเอียดให้กับตัวแบบได้โดยไฟเสริมมักจะวางในตำแหน่งที่ตรงข้ามกับตัวไฟหลัก (แผ่นสะท้อนแสงก็ทำงานคล้ายกัน) และวางในตำแหน่งที่ช่วยลดเงา เติมความสว่างในบางจุดที่ตัวแบบไม่ได้รับแสงอย่างเต็มที่ หรือการวางซ้อนด้านหลัง เพื่อให้เกิดแสงและเงาที่สร้างมิติลึกตื้นให้กับภาพได้ 

ทั้งนี้แสงไฟตกแต่ง ทั้ง LED หรือ RGB เปลี่ยนสีได้ ช่วยปรับให้เฟรมภาพดูน่าสนใจมากยิ่งขึ้น ซึ่งตัวเลือกในตลาดของไฟตกแต่งมีขนาดเล็กและขนาดใหญ่ สามารถเลือกเพื่อให้เหมาะกับห้อง และลักษณะการใช้งานได้เลย

3. ใช้ไฟที่ให้สีของแสงที่ไม่เพี้ยนสีตรง และปรับอุณหภูมิแสงได้ 

ไฟสตูดิโอ ทั้งแสงไฟหลักและแลสงไฟเสริม ควรเลือกไฟที่สามารถปรับอุณหภูมิสีของแสงได้ โดยจะมีหน่วยเป็น เคลวิน (K) เพื่อความแม่นยำในการอ้างอิงสี เพื่อเพิ่มคุณภาพของผลงาน สีผิวบุคคล หรือสีของตัวแบบหรือวัตถุจะไม่เพี้ยนไปช่วยลดการทำงานเพื่อปรับสีหลังการถ่ายทำได้ และความสามารถปรับสีของแสงเพื่อเลียนแบบสีของแสงในธรรมชาติ เพื่อให้การทำงานคล่องตัวขึ้น ไม่ต้องรอแสงจริงในธรรมชาติ สามารถสร้างสรรค์งานบ่อยและต่อเนื่องได้อย่างที่ต้องการ 

4. เพิ่ม Light modifier เพื่อแสงที่ละมุน ไม่กระด้าง แผ่นสะท้อนแสงและใช้ฟิลเตอร์ หรือที่กั้นแสงแบบต่าง ๆ เพื่อสร้างเอกลักษ์แสง

ไฟหลักและไฟเสริมที่เลือกใช้ บางตัวจะมีตัวซับแสงให้ในตัว และบางรุ่นก็ต้องมีการใส่ Light modifier เพิ่มเข้าไปในภาพหลังโดยแสงไฟที่ผ่านตัวซับแสงเมื่อกระทบกับตัวแบบ จะดูไม่กระด้างแข็ง แต่จะมีความนุ่มละมุนมากขึ้น ซึ่งข้อดีของไฟสตูดิโอที่มีตัวซับแสงในตัวคือจะลดพื้นที่ในการใช้งาน จึงเหมาะสำหรับการทำงานในพื้นที่จำกัด ทั้งห้องหรือคอนโดขนาดเล็ก ซึ่งแผ่นสะท้อนแสงก็สามารถช่วยลดความแข็งของแสง และเพิ่มแสงในบางจุดได้ด้วยเช่นกัน 

การใช้ฟิลเตอร์และที่กั้นแสงแบบต่าง ๆ ช่วยสร้างเอกลักษณ์ให้กับงานได้ โดยฟิลเตอร์เช่น Mist  filter จะช่วยให้ภาพดูนุ่มฟุ้งละมุน สวยงาม ทั้งยังช่วยให้ผิวดูเนียนใส ริ้วรอยดูลบเลือน และที่กั้นแสงรูปแบบต่าง ๆ จะช่วยสร้าง Pattern แสงและเงาที่ดูน่าสนใจ เช่นในห้อง อาจจะไม่มีหน้าต่างจริง แต่ที่กั้นแสง จะสร้างรูปแบบแสงและเงาให้ดูเหมือนมีแสงลอดผ่านหน้าต่างเข้ามาในห้องได้อีกด้วย

5. ปรับพื้นหลัง สีห้อง เพื่อให้ช่วยกระจายแสง สะท้อนแสงหรือดูดซับแสงในบางจุด และการเติมองค์ประกอบในเฟรมภาพด้วยการใช้ไฟ 

นอกจากจะต้องใส่ใจเรื่องการใช้ไฟแล้ว การปรับห้องก็มีผลเช่นกัน เพราะสีของห้องที่มีสีสว่าง จะสะท้อนแสงกลับมา เช่นถ้าผนังห้องสีขาว แสงไฟที่เติมเข้าไปจะสะท้อนออกมาด้วยเช่นกัน เป็นการเพิ่มความสว่างโดยรวมให้มากขึ้น บางครั้เราสามารถใช้ไฟยิงเข้าไปที่ผนังห้องและให้ไฟสะท้อนกลับมาที่ตัวแบบ เพื่อลดความกระด้างของแสงลงได้เช่นกัน และบางห้องใช้สีทึบ สีของผนังก็จะดูดกลืนแสงออกไป ก็จะช่วยให้การปรับแสงง่ายขึ้น เพราะไม่ถูกรบกวนจากแสงสะท้อนที่เข้ามา ซึ่งก็แล้วแต่สไตล์การแต่งแสงและความพึงพอใจของผู้ทำงานนั่นเอง

การเติมองค์ประกอบในเฟรมภาพด้วยการใช้โคมไฟ ไฟติดผนัง ไฟแบบตั้งโต๊ะ เทคนิคนี้เรามักจะเห็นในภาพยนตร์ โดยไฟที่เติมเข้าไป จะช่วยเพิ่มความสว่างให้ภาพโดยรวม และยังเป็นการปรับสมดุลของภาพในด้านองค์ประกอบได้อีกด้วย

Nanlite นำเข้าและจัดจำหน่ายโดย COB สามารถสั่งซื้อและเป็นเจ้าของได้ที่ร้านกล้องชั้นนำทั่วประเทศ

Prev
5 ไมโครโฟนงบ 1000 – 3000 บาท แต่เสียงดี ใช้งานไลฟ์ พ็อดคาสท์ สัมมนาออนไลน์ได้จริง

5 ไมโครโฟนงบ 1000 – 3000 บาท แต่เสียงดี ใช้งานไลฟ์ พ็อดคาสท์ สัมมนาออนไลน์ได้จริง

Next
7 จุดเด่นของ NANLITE COMPAC ที่จะทำให้การจัดไฟในพื้นที่จำกัดทำได้ดีมากขึ้น

7 จุดเด่นของ NANLITE COMPAC ที่จะทำให้การจัดไฟในพื้นที่จำกัดทำได้ดีมากขึ้น

You May Also Like